โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

หลายคนคงเคยได้ยินโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือบางคนอาจจะเคยเป็นมาแล้ว

สำหรับโรคชนิดนี้จะมีผลมาจากความผิดปกติของหูชั้นใน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคชนิดนี้จะมีอาการเวียนหัวและรู้สึกว่าบ้านหมุน เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้างในหู จึงส่งผลผลต่อการได้ยินและการทรงตัวโดยเฉพาะ และสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากที่สุดคือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี – 60 ปี ซึ่งหากเป็นโรคนี้แล้วมีการรักษาที่ถูกวิธีการสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ 

        สำหรับคนที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นมักจะเป็นกับหูข้างใดข้างหนึ่ง ในระยะเริ่มแรกจะเป็นไม่นานเพียงนั่งพักอาการก็จะดีขั้น แต่อาการเริ่มแรกเป็นเพียงแค่อาการเตือนเท่านั้นหากไม่รีบรักษาก็จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เราสามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระดับคือ

  1. ระยะที่หนึ่ง ระยะนี้จะมีอาการ หูอื้อ เวียนหัว คลื่นไส้แบบไม่ทันตั้งตัว คืออยู่ๆก็เป็น แต่จะเป็นเพียงแค่ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงอาการก็จะดีขึ้น
  2. ระยะที่สอง สำหรับระยะนี้อาจยังมีอาการเวียนหัวเล็กน้อย แต่อาการหูอื้อจะเริ่มเป็นมากขึ้น รวมถึงจะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน โดยจะเริ่มได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด จะได้ยินเสียงเบาลง  ซึ่งระยะนี้จะเริ่มมีปัญหาเรื่องของการทรงตัว เพราะจะเริ่มรู้สึกว่าบ้านหมุน 
  3. ระยะที่สาม ระยะนี้อาการหูอื้อและปัญหาการได้ยินจะยิ่งแย่กว่าระยะที่สอง รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องการทรงตัวรวมอยู่ด้วย จะเริ่มเดินไม่ค่อยได้ ยิ่งเฉพาะในเวลาที่อยู่ในที่มืด 

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เราเกิดเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้น มักมีมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่นเกิดจากการเป็นโรคภูมิแพ้  การติดเชื้อไวรัส การเกิดอุบัติเหตุที่หัว หรือการระบายของเหลวในหูมีความผิดปกติ รวมถึงการติดต่อกันทางพันธุกรรมก็สามารถทำให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันได้  หากมีอาการดังข้างต้นควรรีบไปพบแพทย์

          สำหรับการรักษานั้น แพทย์จะวินิจฉัยว่าต้องรักษาอย่างไรตามระยะอาการ เช่น อาจเป็นการให้ทานยา  การรักษาด้วยการบำบัดรวมถึงการรักษาเรื่องของการทรงตัว บางรายจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อรักษาอาการไม่ได้ยินเสียงซึ่งการรักษาด้วยเครื่องช่วยฟัง ทางนักโสตวิทยาจะเป็นผู้วินิจฉัยให้ผู้ป่วยเองว่าต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบไหน หรือบางครั้งอาจรักษาด้วยหารฉีดยา หรือการผ่าตัด

        สำหรับผู้ป่วยที่มีการอาการน้ำในหูไม่เท่ากันควรดื่มน้ำมากๆให้พอกับที่ร่างกายต้องการคือวันละ 8 แก้ว และไม่ควรกินอาหารที่ใส่เกลือ ใส่ผงชูรส ไม่ควรดื่ม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พยายามไม่ให้เครียด ไม่สูบบุหรี่